ดัชนี S&P500 คืออะไร ทำความรู้จักกับดัชนี S&P 500


นักลงทุนหน้าใหม่หลายคนคงเคยได้ยินคำว่าดัชนี S&P500 กันมาบ้าง และด้วยความที่ดัชนี sp500 คือดัชนีที่โด่งดังมาก เพราะเป็นหนึ่งในดัชนีที่สำคัญของสหรัฐอเมริกาหลายท่านจึงสนใจที่จะลงทุนในดัชนี ทั้งนี้ก่อนการลงทุนในดัชนี S&P500 คุณจำเป็นต้องเรียนรู้ว่า S&P 500 index คืออะไร เหตุผลที่คุณควรลงทุนในดัชนี S&P500 และหาคำตอบว่าโบรกเกอร์ใดบ้างที่เป็นโบรกเกอร์ยอดนิยมที่คุณควรจะใช้บริการในการลงทุน S&P500
ดัชนี S&P 500 คืออะไร
ดัชนี S&P500 เป็นดัชนีถ่วงน้ำหนักตามมูลค่าตลาดของบริษัทจดทะเบียนชั้นนำ 500 แห่งในสหรัฐอเมริกา แต่จะไม่ใช่รายชื่อของบริษัท 500 อันดับแรกในสหรัฐฯ ตามมูลค่าราคาตลาด เนื่องจากมีเกณฑ์อื่นๆ ในการเลือกหุ้นเช้าดัชนีรวมอยู่ด้วย ถึงกระนั้น S&P 500 index ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในมาตรวัดที่ดีที่สุดของตลาดหุ้นแนวหน้าของสหรัฐอเมริกา โดยตามวิธีการคำนวณดัชนี S&P500 จะถือว่าเป็นดัชนีแบบลอยตัว ซึ่งหมายความว่ามูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของบริษัทในดัชนีจะถูกปรับตามจำนวนหุ้นที่มีให้สำหรับการซื้อขายสาธารณะ
เนื่องจาก S&P 500 index ครอบคลุมบริษัทในหลากหลายอุตสาหกรรม S&P500 จึงได้รับการพิจารณาอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนึ่งในมาตรวัดที่ดีที่สุดสำหรับหุ้นขนาดใหญ่ของสหรัฐ และแม้กระทั่งในแง่ของตลาดหุ้นรวมทั้งหมด นักลงทุนนิยมลงทุนในกองทุนใดกองทุนหนึ่งที่ใช้ดัชนีนี้เป็นเกณฑ์มาตรฐาน โดยติดตามองค์ประกอบและประสิทธิภาพ และลงทุนในตราสารอนุพันธ์ (CFDs) ที่อ้างอิงและติดตามราคาของ ดัชนี S&P500
S&P 500 คำนวณอย่างไร
S&P500 ใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักตามราคาตลาด ทำให้มีการจัดสรรเปอร์เซ็นต์ที่สูงขึ้นให้กับบริษัทที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดมากที่สุด การกำหนดน้ำหนักของแต่ละบริษัทที่อยู่ใน ดัชนี S&P500 เริ่มต้นโดยวิธีการเพิ่มมูลค่าตามราคาตลาดของทุกบริษัทในดัชนีเข้าด้วยกัน จากนั้นคำนวณน้ำหนักของบริษัทนั้น ๆ ในดัชนี จากนั้นเราจะได้ตัวเลข ดัชนี S&P500 ที่เป็นฐานข้อมูลที่มีค่าแก่นักลงทุนได้ หากหุ้นขึ้นหรือลง เราสามารถรับรู้ได้ว่าหุ้นนั้นอาจมีผลกระทบต่อดัชนีโดยรวมหรือไม่ ตัวอย่างเช่น บริษัทที่มีการถ่วงน้ำหนัก 10% จะมีผลกระทบต่อมูลค่าของดัชนีมากกว่าบริษัทที่มีการถ่วงน้ำหนัก 2% โดยวิธีการคำนวณการถ่วงน้ำหนักของแต่ละบริษัทนั้นแสดงตามข้อมูลด้านล่าง
ดัชนี S&P 500 เกิดขึ้นได้อย่างไร
ดัชนี s/p คือดัชนีที่เกิดจากโครงการร่วมกันของสำนักสถิติมาตรฐานและสำนักพิมพ์พัวร์ แรกเริ่มเปิดตัวในปี พ.ศ. 2466 ดัชนีเดิมครอบคลุม 233 บริษัท ใน 26 อุตสาหกรรมที่แตกต่างกัน ทั้งนี้สองบริษัทได้รวมตัวกันในปี พ.ศ. 2484 กลายเป็น Standard and Poor's และพัฒนามาเป็นหน่วยงานจัดอันดับความน่าเชื่อถือสูงมากในโลกการลงทุน
หุ้นในดัชนี S&P 500 มีทั้งหมดกี่ตัว และสัดส่วนของหุ้นในดัชนี S&P 500 10 อันดับแรกคือหุ้นอะไรบ้าง
S&P500 ใช้เฉพาะหุ้นแบบลอยตัวในการคำนวณมูลค่าตามราคาตลาดเท่านั้น ซึ่งหมายถึงหุ้นที่ประชาชนสามารถซื้อขายได้ โดยดัชนี S&P500 จะปรับมูลค่าตลาดของแต่ละบริษัทเพื่อชดเชยปัญหาหุ้นใหม่หรือการควบรวมกิจการของบริษัท มูลค่าของดัชนีคำนวณโดยการรวมมูลค่าตลาดที่ปรับแล้วของแต่ละบริษัทและหารผลลัพธ์ด้วยตัวหาร ตัวหารเป็นข้อมูลที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ S&P500 และไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ ทั้งนี้ S&P500 ประกอบไปด้วยบริษัทมหาชนที่ใหญ่ที่สุดประมาณ 500 แห่งในสหรัฐอเมริกา ต่อไปนี้คือข้อกำหนดหลักในการจัดทำดัชนีในปี 2022
- ต้องเป็นบริษัทในสหรัฐอเมริกา
- ต้องมีมูลค่าตลาดอย่างน้อย 14.6 พันล้านดอลลาร์และต้องมีหุ้นอย่างน้อย 50 เปอร์เซ็นต์ (หุ้นแบบลอยตัว) เพื่อการแลกเปลี่ยนซื้อขายทั่วไป
- จะต้องมีการซื้อขายในการแลกเปลี่ยนในตลาดหุ้นหลักของสหรัฐอเมริกา รวมถึงตลาดหุ้น New York Stock Exchange หรือตลาดหุ้น Nasdaq
- บริษัทต้องมีรายได้ในไตรมาสล่าสุดและสี่ไตรมาสก่อนหน้ารวมกันเป็นบวก
- ต้องมีการซื้อขายอย่างน้อย 250,000 หุ้นต่อวันในช่วงหกเดือนก่อนที่จะรวม
เนื่องจากจำนวนบริษัททั้ง 500 บริษัทนั้นมีมากมายเกินกว่าจะบรรยายหมด เริ่มจาก Apple (AAPL) ไปจนถึง Xerox (XRX) เราจึงได้เลือกรายการของหุ้นที่ได้รับการจัดอันดับตามเปอร์เซ็นต์ของดัชนี 10 อันดับแรกในดัชนี S&P500 ข้อมูลในไตรมาสแรกของปี 2022 มาแสดงดังต่อไปนี้
- แอปเปิล มีสัดส่วนในดัชนี S&P500 6.9 เปอร์เซ็นต์
- ไมโครซอฟท์ มีสัดส่วนในดัชนี S&P500 5.7 เปอร์เซ็นต์
- อเมซอน มีสัดส่วนในดัชนี S&P500 3.6 เปอร์เซ็นต์
- เทสลา มีสัดส่วนในดัชนี S&P500 2.2 เปอร์เซ็นต์
- Alphabet Class A มีสัดส่วนในดัชนี S&P500 2.0 เปอร์เซ็นต์
- Alphabet Class C มีสัดส่วนในดัชนี S&P500 1.9 เปอร์เซ็นต์
- Berkshire Hathaway Class B มีสัดส่วนในดัชนี S&P500 1.6 เปอร์เซ็นต์
- NVIDIA Corporation มีสัดส่วนในดัชนี S&P500 1.4 เปอร์เซ็นต์
- Unitedhealth Group มีสัดส่วนในดัชนี S&P500 1.4 เปอร์เซ็นต์
- จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน มีสัดส่วนในดัชนี S&P5001.3 เปอร์เซ็นต์
อยากลงทุน ดัชนี S&P 500 ได้ที่ไหนบ้าง
1.ลงทุนในรูปในตราสารอนุพันธ์ที่อ้างอิงราคาของ ดัชนี S&P500
การลงทุนในสัญญาซื้อขายส่วนต่าง หรือ CFD เปรียบเสมือนกำลังทำสัญญาเพื่อเก็งกำไรในราคา S&P500 หรือราคาหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในดัชนี นักลงทุนตกลงที่จะแลกเปลี่ยนส่วนต่างระหว่างราคาของดัชนีหรือหุ้นเมื่อเปิดสถานะหรือเมื่อปิดสถานะ สำหรับกำไรหรือขาดทุน โดยนักลงทุนสามารถหรือเปิดสถานะหุ้น S&P 500 เช่น เทสลา,Apple และอื่นๆโดยไม่ต้องเป็นเจ้าของหุ้นจริงด้วยการเดิมพันแบบกระจายหรือการซื้อขายหุ้น CFD ซึ่งเหมาะกับนักลงทุนระยะสั้นหรือนักลงทุนที่มองหาผลตอบแทนรายวัน เพราะในการลงทุนในรูปในตราสารอนุพันธ์ที่อ้างอิงราคาของ ดัชนี S&P500 นักลงทุนสามารถกำหนดเป้าหมายเฉพาะหุ้นที่สอดคล้องกับกลยุทธ์โดยไม่ได้รับความเสี่ยงจากดัชนีทั้งหมด
ทั้งนี้เราขอแนะนำแพตฟอร์มซื้อขายด้วยการเดิมพันแบบสเปรด หุ้น CFD ที่มีค่าคอมมิชชั่นต่ำและแพลตฟอร์มที่ยอดเยี่ยม นั่นคือ CM Trade อีกเพราะ CM Trade มีแพลตฟอร์มการซื้อขาย MetaTrader4 ที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับผู้ใช้ และ CM Trade เป็นทางเลือกที่ดีหากคุณมองหาแพลตฟอร์มที่มีค่าธรรมเนียมการซื้อขายต่ำ เพราะถึงส่วนมากค่าธรรมเนียม CFD ของดัชนีหุ้นจะต่ำ แต่ค่าธรรมเนียม CFD ของหุ้นก็สูง แม้ว่าจะเป็นเรื่องปกติในแพลตฟอร์มการซื้อขายอื่นๆ แต่ที่ CM Trade ค่าธรรมเนียม CFD ของดัชนีหุ้น S&P500 และหุ้น S&P500 จะต่ำอย่างน่าประทับใจ
2.ลงทุนในกองทุนดัชนี S&P500 ที่ติดตาม S&P 500 index
กองทุนดัชนี S&P500 ส่วนใหญ่มักถือครองหุ้นส่วนใหญ่หรือทั้งหมดที่รวมอยู่ในดัชนีอ้างอิง เพื่อให้สามารถเลียนแบบประสิทธิภาพของดัชนี S&P500ได้ใกล้เคียงที่สุด จากนั้นนักลงทุนสามารถซื้อหุ้นของกองทุนเพื่อการลงทุนได้ เหมาะกับการลงทุนระยะยาว สามารถลงทุนกับโบรกเกอร์ออนไลน์ทั่วไปได้
3.ลงทุนใน ดัชนี S&P500 กับ ETFs
การลงทุนใน S&P 500 index ETFs จะคล้ายกับการลงทุนในกองทุนดัชนี โดยมีเป้าหมายเพื่อเน้นย้ำประสิทธิภาพของดัชนีตลาด เช่น กองทุน s/p คือ การที่ผู้จัดการกองทุน ETFs จะสร้างตะกร้าหลักทรัพย์เพื่อถือครองดัชนีอ้างอิงแล้วขายหุ้นให้กับนักลงทุน เปรียบเสมือนการที่คุณได้ลงทุนในบริษัทที่ใหญ่ที่สุด 500 แห่งในสหรัฐอเมริกาพร้อมๆ กันด้วย ETFs เหมาะกับการลงทุนระยะยาว สามารถลงทุนกับโบรกเกอร์ออนไลน์ทั่วไปได้
ทำไมต้องลงทุนในดัชนี S&P500
ก่อนที่จะเริ่มลงทุนใน S&P 500 index หลายท่านอาจมีความลังเลที่จะลงเงินทุนใน ดัชนี S&P500 ในหัวข้อนี้เราจึงจะอธิบายถึงข้อดีและเหตุผลที่คุณควรลงทุนในดัชนี S&P500
- จากข้อมูลของ Standard & Poor's ดัชนี S&P500 สามารถเป็นตัวแทนของผลการดำเนินการประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่ารวมของหุ้นทั้งหมดที่ซื้อขายในตลาดสหรัฐฯ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของดัชนีรายวันจึงมีการขึ้นลงตลอดเวลา เพราะดัชนีแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของตลาดหลักทรัพย์โดยรวม ทำให้นักลงทุนรายวันมีโอกาสในการทำกำไรจากการเทรดตราสาร CFDs ได้อย่างไม่จำกัด ซึ่งแตกต่างจากดัชนีที่ชี้วัดตลาดหุ้นขนาดเล็กซึ่งมักจะมีการเคลื่อนไหวน้อยเกินไปที่จะลงทุนรูปแบบ CFDs
- ดัชนี S&P500 ยังให้ผลตอบแทนแก่นักลงทุนประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ต่อปีในตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สรุปได้ว่าดัชนี S&P500 อาจเป็นทางเลือกที่ดีหากคุณต้องการเพิ่มเริ่มลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในพอร์ตการลงทุนของคุณ เพราะผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องเช่นนี้รวมถึงการกระจายความเสี่ยงในวงกว้างเป็นเหตุผลที่นักลงทุนระดับตำนานอย่าง ปู่วอร์เรน บัฟเฟตต์แนะนำให้นักลงทุนรายย่อยซื้อดัชนี S&P500 ไม่ว่าจะมากหรือน้อย
- เนื่องจากดัชนี S&P500 เป็นตัวแทนหุ้นจากของทุกภาคส่วนของตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ จึงเป็นการลงทุนที่หลากหลายและมีความเสี่ยงด้านตลาดค่อนข้างต่ำ นอกจากนี้ด้วยจำนวนบริษัทที่มากกว่า 500 บริษัทของ S&P 500 ยังช่วยลดความเสี่ยงด้านตลาดได้
S&P 500 และ Dow Jones แตกต่างกันอย่างไร
ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ (DJIA หรือ Dow) เป็นดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาอีกดัชนีหนึ่งที่นักลงทุนและนักวิเคราะห์มักจะให้ความสนใจและคอยติดตามอย่างใกล้ชิด โดยเมื่อทำการเปรียบเทียบกับดัชนี S&P500 จะมีความแตกต่างในแง่ของหุ้นที่เป็นองค์ประกอบของดัชนีบ้าง ดังนี้
- ดัชนีดาวโจนส์ จะมีการเลือกติดตามบริษัทหรือหุ้นที่มีขนาดเล็กลงอย่างมาก โดยรวมบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาเพียง 30 แห่งเท่านั้น นอกจากนี้ยังไม่รวมภาคสาธารณูปโภคและการขนส่งในขณะที่ ดัชนี S&P500 รวมทุกภาคส่วน ซึ่งหมายความว่ากองทุนติดตาม Dow Jones จะมีความหลากหลายของบริษัทและอุตสาหกรรมน้อยกว่ากองทุนดัชนี S&P500
- ดัชนี Dow Jones แตกต่างจากดัชนี S&P500 ในแง่ของน้ำหนัก เนื่องจากบริษัทที่รวมอยู่ในรายชื่อ ดัชนี S&P500 เป็นดัชนีแบบวิธีการถ่วงน้ำหนักตามราคาตลาดในขณะที่ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมของดัชนี Dow Jones เป็นการถ่วงน้ำหนักตามราคา
สรุป
หากคุณกำลังสนใจที่จะลงทุนใน ดัชนี S&P500 ควรศึกษากลยุทธ์การซื้อขายและศึกษาแพลตฟอร์มของโบรกเกอร์ให้รอบครอบ เพราะการวางแผนที่ดีนั้นจำเป็นต่อการลงทุนใน S&P500 กลยุทธ์การซื้อขายที่มีประสิทธิภาพอาจเป็นกลยุทธ์ที่ช่วยให้คุณประสบความสำเร็จ แต่ค่าธรรมเนียมและค่าคอมมิชชั่นที่ต่ำก็เป็นเรื่องสำคัญ ลองลงทุนกับ CM Trade เพื่อขจัดความกังวลเหล่านี้
ข้อมูลข้างต้นจัดทำโดยนักวิเคราะห์พิเศษและใช้สำหรับอ้างอิงเท่านั้น CM Trade ไม่รับประกันความถูกต้อง ทันเวลา และความสมบูรณ์ของเนื้อหาข้อมูล ดังนั้นคุณไม่ควรพึ่งพาข้อมูลที่ให้ไว้มากเกินไป CM Trade ไม่ใช่บริษัทที่ให้คำแนะนำทางการเงิน และให้บริการเฉพาะลักษณะการดำเนินการตามคำสั่งเท่านั้น ผู้อ่านควรขอคำแนะนำในการลงทุนที่เกี่ยวข้องด้วยตนเอง โปรดดูข้อจำกัดความรับผิดชอบทั้งหมดของเรา

CM Trade
แพลตฟอร์มการซื้อขายทางการเงินชั้นนำของโลก ที่ให้บริการซื้อขายครบวงจรแบบครบวงจร ให้โอกาสนักลงทุนที่มีศักยภาพในการซื้อขายมากขึ้น
[ผลิตภัณฑ์]
แพลตฟอร์มนี้ให้บริการซื้อขายผลิตภัณฑ์ทางการเงินกระแสหลักทั่วโลกมากกว่า 32 รายการ เช่น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า น้ำมันดิบ ดัชนีหุ้น และสกุลเงินดิจิทัล
[ระบบ]
การดำเนินการนั้นเรียบง่ายและมีประสิทธิภาพ และทั้งสองระบบการซื้อขายชั้นนำ CM Trade MT4 / CM Trade App นั้นได้รับการคุ้มกันสองครั้ง
[ให้บริการ]
ฮอตสปอตของตลาดที่ครอบคลุม การวิเคราะห์ตลาดแบบมืออาชีพยังคงถูกส่งต่อไป และผู้จัดการฝ่ายบริการลูกค้าพิเศษเฉพาะบริการออนไลน์ 7x24 ชั่วโมง
[ความได้เปรียบ]
ต้นทุนต่ำ เลเวอเรจสูง การซื้อขายสองทางแบบครบวงจรตลอดทั้งวัน ยืดหยุ่นและยืดหยุ่น
[อำนาจ]
มีคุณวุฒิทางการจำนวนหนึ่งในอุตสาหกรรมและอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างเข้มงวดโดยสถาบันที่มีอำนาจ เงินของลูกค้าถูกฝากโดยธนาคารอย่างอิสระ การฝากและถอนเงินนั้นปลอดภัยและรวดเร็ว และสภาพแวดล้อมในการทำธุรกรรมนั้นยุติธรรม มีประสิทธิภาพและโปร่งใส
CM Trade แอปพลิเคชันมือถือ
ปฏิทินเศรษฐกิจ
มากกว่าได้รับความนิยมสูงสุด